top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนบ้างกางใจ

Was fressen monster ?

" Was fressen monster ? "

By constanze von kitzing &

Johannes Büchs

...........................................

" เจ้ามอนสเตอร์กินอะไรนะ ? "

นิทานภาพจากเยอรมันที่มาชวนเด็ก ๆ สนุกกับการคาดเดาเหตุการณ์ในหน้าต่อไปได้เรื่อย ๆ ซึ่งเป็นการคาดเดาเเบบปลายเปิด โดยให้เด็ก ๆ ลองตัดสินใจร่วมกับเจ้ามอนสเตอร์ว่า " จะกินอะไรดีนะ " เมื่อเปิดมากลับพบคำตอบเเบบหักมุมในทุก ๆ หน้า !!!!

.....

ความสนุกจึงไต่ระดับขึ้นเรื่อย ๆ

ทุกประสบการณ์ที่เคยผ่านมากลับใช้ไม่ได้กับนิทานเล่มนี้ 555555 เมื่อเล่าไป 2 - 3 หน้า เด็ก ๆ เริ่มจับหัวใจของหนังสือภาพเล่มนี้ได้ว่าลูกเล่นที่ซ่อนอยู่คืออะไร

จนท้ายที่สุดเด็ก ๆ กล้าตอบคำตอบที่ไร้กรอบมากขึ้น คำตอบที่ไม่มีทางเป็นไปได้ในโลกความจริง เเต่มีความเป็นไปได้เสมอในโลกของนิทาน

....

โดยส่วนตัวหลงรักวรรณกรรมเยอรมันมาก ๆ ผ่าน หนังสือเรื่อง " โต๊ะก็คือโต๊ะ "

เราอ่านตอนอายุ 20 บนหน้าปกเขียนว่าวรรณกรรมสำหรับเด็ก 😲 อ่านจบเเล้วชอบมาก ไม่สงสัยว่าเพราะอะไร คนเยอรมันส่วนใหญ่จึงมีกระบวนการคิดที่เป็นระบบ ลุ่มลึก เพราะระหว่างทางการอ่านของพวกเขามีสีสันมาก เเละโชคดีที่ได้อ่านสื่อเหล่านี้ตั้งเเต่เด็ก ๆ นิทานของเยอรมันก็เช่นกัน เสน่ห์ของมันคือการนำเสนอเรื่องดาร์ก ๆ ที่เเสนจะจริงในความเป็นมนุษย์มานำเสนอให้เด็ก ๆ รับสารได้ เพราะหลาย ๆ ครั้งที่นิทานความดีงามออกมาจนล้นตลาด เมื่อเด็ก ๆ ถูกป้อนด้วยสื่อเเบบนี้เยอะ ๆ เด็ก ๆ จึงตั้งคำถามเเละสับสันกับตัวเองว่า ฉันโกรธมากฉันผิดไหม ฉันโมโหได้ไหม ฉันกรี๊ดได้ไหม ฉันเป็นเด็กไม่น่ารักหรือเปล่า ....

หน้าที่ของพวกเราคงต้องช่วยให้เด็ก ๆ รับรู้ว่าในโลกกว้างใบนี้มีไม้บรรทัดได้หลายอัน เเละไม่มีอันไหนตรงที่สุดหรือเบี้ยวที่สุด เหมือนที่เยอรมันเลือกสอนประวัติศาสตร์เรื่องกำเเพงเบอร์ลินเเละความโหดร้ายในสงครามโดยไม่บิดเบือน

.

.

.

สำหรับเราหนังสือนิทานเล่มนี้กำลังพูดเรื่อง critical thinking ( การคิดเชิงวิพากษ์ ) กับเด็กโดยตรง ผ่านสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เจ้ามอนสเตอร์เผชิญ เน้นเรื่องใกล้ตัวที่เด็ก ๆ ทุกคนเคยมีประสบการณ์ร่วม เช่น การกินขนม การเเปรงฟัน การเป่า bubble เป็นต้น เเต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในนิทานกลับห่างไกลความเป็นจริงยาวไปถึงโลกจินตนาการเเบบไร้ขอบเขต

.

.

หลายครั้งที่ครูตั้งใจอยากสอนเรื่องการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ให้เด็กตามโจทย์ที่ได้รับมา สารสำคัญของทฤษฎีคงไม่ใช่เเค่การจำว่ามีกี่ข้อที่ต้องเรียน เเต่คือการทำให้เด็กมีประสบการณ์ในการคิดเชิงวิพากษ์ด้วยตัวเขาเอง จนเกิดความเข้าใจ เราในฐานะครูจึงเป็นเพียงกระบวนกรที่จัดพื้นที่ให้ผู้เรียนได้อยู่ในห้องเรียนที่มีสิ่งเเวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ทั้งการเเสดงความคิดเห็น การรับฟัง เเละการยอมรับความเห็นต่างให้ได้มากที่สุด

.

.

สื่อที่ดีมีความสำคัญ เเต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือทัศนคติของครู หากครูชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ เมื่อเด็กคิดต่างหรือเสนอความคิดเห็นไม่ตรงกลับคำตอบในใจครู กลับกลายเป็นความผิด หรือถูกตีตราว่าแปลกเเยก เด็กจะปิดประตูความไว้ใจทันที หลังจากนั้นถึงเเม้เราจะพูดดังเเค่ไหนเขาก็จะไม้ได้ยินเราชัดเท่าเดิม

.

ชวนคุณครูเเละคุณพ่อคุณเเม่ (ที่ตอนนี้มีโอกาสได้ทำหน้าที่ครูบ่อยครั้งขึ้นเพราะเด็ก ๆ อยู่บ้านทั้งวัน) กลับมาสังเกตเด็ก ๆ ด้วยตาที่ไม่มีอคติกับใจที่ไม่คาดหวังกันอีกครั้งค่ะ ว่าเวลาเราเห็นเด็ก ๆ ตั้งใจฟังเรา เขาได้ยินไปถึงข้างในจริง ๆ หรือไม่ เพราะหลายครั้งที่เด็กนั่งนิ่งเหมือนฟังเราเพราะความกลัวที่จะถูกลงโทษ ความกลัวที่จะถูกดุ เขาจึงเลือกที่จะนิ่งเพื่อการเอาตัวรอด

.

. .

....

เเล้วพวกเราล่ะ ? ได้ยินเสียงจริงของลูกของเด็ก ๆ ชัดล่ะยังว่าเขาจะพูดว่าอะไร

ทุกครั้งที่เขาร้องไห้อาจไม่ได้เเปลว่าเขาเสียใจ เเละทุกครั้งที่เขายิ้มไม่ได้ยืนยันว่าลูกมีความสุข ถ้าไม่รู้จะเริ่มตรงไหนชวนมากอดกันค่ะ 👪👪👨‍👩‍👧 ให้ภาษากายค่อย ๆ ดึงให้เรากลับมาใกล้กัน เมื่อใกล้กันมากพอเราคงได้ยินกันชัดขึ้น




Comments


bottom of page