top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนบ้างกางใจ

I will not eat you

เเววตาคู่นี้ทำให้คุณรู้สึกอย่างไร ........

หนังสือนิทานเล่มนี้มีลูกเล่นให้เราเลือกอ่านได้หลายมุม อ่านตามข้อความที่หนังสือเขียนมาให้ก็เเสนจะสนุก มีความตื่นเต้นออกมาให้เด็ก ๆ ได้ลุ้นไปกับการตัดสินใจว่าจะกินดี ไม่กินดี เเต่หนังสือก็ชวนให้สงสัยต่อ ยังไม่ยอมให้ใครรู้ง่าย ๆ ว่าเเววตาคู่นี้เป็นของใครกัน จนกว่าจะถึงช่วงท้ายของเรื่อง

หรือเราอาจจะชวนเด็ก ๆ สนุกกับจินตนาการตั้งเเต่หน้าปก โดยยังไม่บอกชื่อนิทานเเละชื่อตัวละคร ชวนให้ต่อมความสงสัยทำงานเต็มที่ เพียงให้รู้ว่ามีเเววตาคู่นี้อยู่นะ คำตอบในใจของเด็ก ๆ จึงออกมาเเตกต่างกันตามประสบการณ์เเละจินตนาการของตนเอง จะเป็นคน สัตว์ ดุร้าย ใจดี ฯลฯ คำตอบที่ได้มาจึงหลากหลายสุดขอบ ยากมากที่ผู้ใหญ่อย่างเราจะพอเดาถูกว่าเด็ก ๆ ให้ค่าสิ่งนี้เป็นอะไรบ้าง 5555 การเปิดหน้าต่อไปจึงชวนลุ้นเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะมันค่อย ๆ เฉลยคำตอบออกมาทีละนิด ๆ อย่างตื่นเต้น ไม่บอกหมดตั้งเเต่ต้นเรื่อง ประกอบกับโทนสีเเละเทคนิคการวาดที่ชวนให้ภาพของนิทานดูน่าค้นหา ดึงให้ผู้อ่านลุ่นตามว่ามันเหมือนที่ฉันคิดมั้ยนะ ? จนนิทานเฉลยออกมาเป็นรูปภาพอย่างชัดเจนว่าเเววตาคู่นั้นเป็นของใครกัน

นิทานเล่มนี้เป็นนิทานปลายเปิด เราจึงเลือกหยิบนิทานเล่มนี้ขึ้นมาเสมอ เมื่อมีโอกาสได้จัดกระบวนการการเรียนรู้สำหรับคนที่ทำงานกับเด็กเล็ก คุณพ่อคุณเเม่ เเละผู้ใหญ่ที่อยากให้เด็กน้อยในใจส่งเสียงได้ดังขึ้น

ภาพนิทานไล่อารมณ์มาตั้งเเต่ภาพพักหน้าปก โดยโทนภาพที่หม่น ทุกสิ่งเเห้งเเล้ง สีสันค่อย ๆ เยอะขึ้น มีสีโทนร้อนเข้ามาทีละนิด ๆ จนโดดเด่นเต็มหน้าด้วยสีของตัวละครลับที่คอยลุ้นมาทั้งเรื่อง เเละจบลงด้วยเสียงหัวเราะเเละร้อยยิ้ม ภาพปกจบใช้สีสว่าง สดใส ไม่จี๊ดจ๊าด เเต่เป็นสีนม ๆ ชวนฝันทำให้รู้สึกอบอุ่น มีความหวังขึ้นมาเพราะคำตอบที่ค้างคาเเละสงสัยมาตั้งเเต่ต้นได้รับการเฉลยเเล้ว

หนึ่งในความรู้สึกที่รับรู้ได้ว่านิทานเล่มนี้ไม่ได้คุยกับเด็กเพียงเพื่อเน้นความสสนุก ผจญภัย เเละเพลิดเพลินเพียงอย่างเดียว เเต่ผู้เขียนยังอยากส่งสารนี้ให้ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ด้วย คงเป็นเพราะข้อความที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนไว้ก่อนเข้านิทานว่า " For Amy , Who helpd me out of my cave "

เราคงไม่อธิบายกระบวนการว่าเริ่มทำอะไรบ้างเเละไปจบที่ตรงไหน เพราะมันจะชี้นำเกินไป เราเพียงอยากมาชวนทุกคนลองหาเวลาว่าง กลับมาคุยกับตัวเอง โดยให้นิทานเล่มนี้เป็นสื่อกลาง ว่าเด็กน้อยในตัวเรา เขาอยากคุยอะไรกับเรานะ ? เพราะทุกคนล้วนมีถ้ำในใจ ขนาดของถ้ำเเตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับคลื่นชีวิตที่เเต่ละคนได้รับมา บางถ้ำปิดตาย บางถ้ำเปิดเเง้มไว้ บางถ้ำใหญ่มากเปิดอยู่ตลอดเวลา เเต่เราเเกล้งทำเป็นไม่เห็น เเละคงปฎิเสธไม่ได้ว่ายิ่งโตเท่าไหร่ เหมือนว่าเราจะค้นพบว่ามีถ้ำในใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในเเต่ละถ้ำล้วนอยากเชิญชวนให้เราเดินเข้าไป

รอบนี้ครูไนซ์จึงอยากชวนผู้ใหญ่ที่อยากคุยกับเด็กน้อยในใจ มาดูเเละตีความภาพจากนิทานเล่มนี้กันอีกครั้ง โดยการปิดเสียงของคลิปนี้ เเละงดอ่านข้อความในหนังสือ ให้ภาพมันดึงความรู้สึกออกมา

เเล้วลองปล่อยให้ความคิดได้คุยกับเราอย่างอิสระ ไม่ตัดสิน กล้าที่จะสบตากับเเววตาคู่นั้นอย่างกล้าหาญ

คุณอยากให้มันเป็นตัวอะไร ?

เเล้วทำไมมันต้องอยู่ในถ้ำ ?

คุณคงให้คำตอบกับตัวเองได้ดีที่สุดว่าเพราะอะไร ?

เเละอยากให้ใครเข้าไปในถ้ำบ้าง ?

คุณพร้อมหรือยัง ?

ในทางกลับกันเจ้าของเเววตาคู่นั้น

มันพร้อมจะออกมาทักทายโลกอีกครั้งเเล้วหรือยัง ?

ขอบคุณนิทานเรื่อง

I will not eat you

By Adam Lehrhaupt

And Scott Magoon

.

อัลบั้มนี้จัดทำขึ้นเนื่องจากต้องการเเบ่งปันทัศนคติ รสนิยม เทคนิคการเล่า เล็ก ๆน้อย ๆและประสบการณ์ตรงของตนเองที่มีต่อหนังสือนิทานเเต่ละเล่ม เราคงไม่มาบอกว่าเล่มไหนควรอ่านเล่มไหนไม่ควรอ่าน เพราะนิทานที่ดีสำหรับเด็ก ๆ ไม่ใช่นิทานที่มีสติกเกอร์หรือรางวัลที่ผู้ใหญ่จัดตั้งขึ้นมาว่าหนังสือเล่มนั้นดีไม่ดี สำหรับเรานิทานที่ดีคือนิทานที่มีภาพสื่อสารกับเด็ก ๆ ได้ เเละเขาเป็นคนเลือกมันด้วยความรู้สึกของเขาเองว่าเขาอยากอ่านเล่มไหน



bottom of page